วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

COMBINATIONAL LOGIC FUNCTIONS [WEEK 5]

     สำหรับในสัปดาห์นี้นะครับ อย่างแรกเราก็ได้เรียนการทำ 7segments ที่หลายๆคนน่าจะรู้จักกันดีมันคือหน้าจอแสดงตัวเลขที่น่าจะพบเจอกันบ่อยจากแวดล้อมรอบตัว มาดูกันเลยดีกว่า

(1) 7-Segments
     มันเป็นอะไรที่หลายๆคนอาจจะยังสงสัยว่า เอ๊ะทำไมมันถึงแยกตัวเลขแต่ละตัวได้ จริงๆแล้วนะครับ มันมีแค่ไฟ 7 ดวงที่วางเป็นลักษณะที่เราเห็น มันไม่ได้แสดงได้แค่ตัวเลขเท่านั้น มันสามารถแสดงเป็นอะไรก็ได้ที่เราอยากให้เป็นครับ โดยมีขอบเขตของสิ่งที่แสดงได้เป็นตำแหน่งของไฟมันนั่นเอง
รูปที่ 1 ตัวอย่าง 7-segments

      โดยหลักการทำงานของมันจะเป็นแบบนี้ครับ

รูปที่ 2 หลักการทำงานของ 7-segments

     ซึ่งเราจะเห็นว่ามันคือการเอาไฟทั้ง 7 ดวงมาต่อแบบ Pull-up หรือไม่ก็ Pull-down ครับ ไฟเข้าดวงไหนดวงนั้นก็ติด #ง่อวธรรมดาชะมัดดด แต่ที่พิเศษของอาทิตย์นี้คือ เราจะใช้ input แบบเลขฐานสองมาสั่งให้ไฟเปิดเป็นตัวเลขนั้นๆในฐาน16บนหน้าจอ 7-Segments ครับ โดยเราจะใช้ Decoder ในการแปลงรูปแบบของ input รอบแรกมาขึ้นแค่ไฟ 1 ดวงครับโดยจะเป็นตามรูป

รูปที่ 3 ผ่าน decoder
   
Class Work 1
     ทีนี้อาจารย์ก็ให้เราลองเขียนสมการที่ทำให้ input เข้าไปเท่าเดิมแต่ปกติเลขหลัง 10 มันออกเป็น A B C d ใช่ไหมครับ เราก็อยากให้มันออกเป็น 10 11 12 13 โดยใช้ 7-segments เพิ่มขึ้นอีกตัวครับ เราก็จะต้องทำ logic ขึ้นมาได้ดังนี้ครับ

รูปที่ 4 Logic ที่ทำผ่าน 7-Segments

     ต่อเสร็จแล้วจะได้เป็นความอลังการงานสร้างมากครับ

รูปที่ 5 ผลงานที่ได้ตอน input เป็น 1001 ครับ (=9ในฐาน168ครับ) 

     สวยสุดๆไปเลย ซึ่งวิธีการทำ Logic ก็สามารถดูได้จาก Week 3-4 ครับ หรือถ้าอยากสะดวกรวดเร็วใช้โปรแกรมช่วยได้เลยครับผม
.
(2) Multiplexer (MUX)
     Multiplexer คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์ ลักษณะเหมือนสับรางรถไฟให้ตรงกันจากสวิตช์ตัวเดียว  ลองมาดูกันเลยครับ

รูปที่ 6 แสดงลักษณะการทำงานของ Multiplexer


รูปที่ 7 Truth Table ของ Multiplexer แบบ 2 input


Class Work 2
     ทำ Multiplexer แบบ 4 input จาก Multiplexer แบบ 2 input

รูปที่ 8 ตัวอย่างการทำ Multiplexer แบบ 4 input จาก Multiplexer แบบ 2 input

รูปที่ 9 ตัวอย่างการทำ Multiplexer แบบ 4 input จาก Multiplexer แบบ 2 input





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น