วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

KARNAUGH MAPS [WEEK4]

     ชื่อเรื่องของสัปดาห์นี้ก็กินใจแล้วครับบ คาร์โนห์แมพ #อึ้งครับอ่านไม่ออกT_T มันคืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถลดรูปสมการ logic ได้ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่ามากๆ เรามาลองดูตัวอย่างสักสองสามหลักกันดีกว่านะครับ

วิธีการทำ Karnaugh Maps


รูปที่ 1 ตัวอย่างการทำตาราง K-Maps

     ดูจากตารางข้างซ้ายเราจะมาเขียนคานูแมพแบบรูปด้านขวาครับ โดยจะแบ่ง A กับ B แล้วก็เรียงค่า 0 กับ 1 ใช่ไหมครับสำหรับกรณีมี input 2 ตัว ครับ ทีนี้ สิ่งที่เราจะมาสังเกตคือเลข 1 ที่ติดกันครับ #งงเลยสิเป็นไงหว่า ครับผมโดยวิธีการสังเกตมันจะมีกฎอยู่ครับ 3 ข้อ คือ
     1 - ตัวเลข 1 ที่ติดกันต้องเป็นจำนวน 2 ยกกำลัง n คือ 2 4 8 16 ... ตัว ครับ
     2 - ห้ามวงแนวทะแยงเฉียง
     3 - วงให้ครบทุกจุดที่สามารถวงได้ โดยสามารถวงเลขที่ถูกวงไปแล้วไปอีกกลุ่มได้
     ซึ่งเราจะได้ผลลัพธ์แบบนี้ครับ

รูปที่ 2 คำตอบของ K-Maps

      จากรูปข้อก่อนหน้าเราจะเห็นว่าเราวง 1 ได้ในช่องที่ B ต้องเป็น 1 โดย A จะเป็น 1 หรือ 0 ก็ได้ใช่ไหมครับ ถ้าลดตามสมการบูลีนจะได้ตามตรงกลางของรูปเราจะเห็นว่ามันเต็มไปตามรูปแบบคำตอบที่อยู๋ในรูปด้านขวาเลย เราวง 1 ตรงไหนก็ได้ตามนั้น #มันง่ายกว่าจริงๆเล้ยยย คำถามต่อไปคือ ถ้า input มากว่า 2 ตัวทำไงดี ... อึ้งเล้ยยย

     ก็จะเป็นแบบตารางฝั่งขวาครับ หลักการทำงานจะคล้ายๆกันคือวงตามกฏทั้ง 3 ข้อของเรา แต่สังเกตแถวแนวตั้งนะครับ การเรียงจะเป็นแบบขึ้นทีละบิตตามลักษณะของ Gray Code คือ  00 01 11 10 เสมอนะ #เรียกว่าเสมอจริงๆห้ามลืมมมม แต่เมื่อลักษณะของมิติที่มากขึ้น เราจึงมีวิธีการที่มากขึ้นครับ ลองสังเกตดูจากรูปต่อไปได้เลย
รูปที่ 3 K-Maps แบบ 3 input
   
รูปที่ 4 ตัวอย่างการทำ K-Maps แบบ 3 input
   
     จากรูปด้านบนก็ยังดูเป็นปกติเหมือนสองมิติ+กฎ3ข้อใช่ไหมครับ แต่ดูข้างล่างสิครับ #โอ้โหหห มันงอได้ด้วย ระวังกันดีๆนะะ

     อีกเรื่องของสัปดาห์นี้ที่เราได้ลิ้มลองกันก็จะเป็น ทฤษฏีบทเดอร์มอร์แกน ครับมันคือวิธีการตัดบาร์ซ้อนบาร์นั่นเองโดยจะมีสูตรดังนี้ครับ

DeMorgan's Theorems


รูปที่ 5 DeMorgan's Theorems

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น